วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2556

ดอกยี่โถ


ดอกยี่โถ



ชื่อวิทยาศาสตร์     Nerium oleandes   L.

วงศ์                APOCYNACEAE
ชื่อสามัญ           Sweet oleander, Rose bay, Oleander
ถิ่นกำเนิด:  เมดิเตอร์เรเนียน เคบเวอดี ญี่ปุ่น
ลักษณะทั่วไป
  เป็นไม้พุ่มสูงประมาณ 20 ฟุต เปลือกของลำต้นมีสีเทาเรียบ เมื่อตัดหรือเด็ดจะมีน้ำยางไหลออกมา ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปร่างรี ปลายและโคนใบแหลม ยาว ๑๕-๑๗ cm. กว้าง ๑.๗-๒.๐ cm. ขอบใบเรียบไม่มีจัก หนาแข็ง มีสีเขียวเข้ม ก้านใบสั้น ออกตามข้อของลำต้น ดอกมีสีชมพู ขาว ออกตามปลายของยอดลำต้นเป็นกระจุกหรือช่อ รูปร่างคล้ายกรวยหรือปากแตร เวลาบานกลีบจะมีกลิ่นหอม ดอกยี่โถสามารถออกดอกได้ทั้งปี ผลเกิดเมื่อดอกมีการผสมเกสรและร่วงหลุดไป จะเกิดผลเป็นฝัก 2 ฝัก ต่อ 1 ดอกยี่โถ 1 ดอก เมล็ดลักษณะคล้ายเส้นไหม
ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตามข้อรอบลำต้น จุดละ  ๓-๔ ใบ ใบรูปรีแกมขอบขนาน คล้ายใบหอก ปลายและ โคนใบแหลม ยาวราว ๑๕-๑๗ เซนติเมตร กว้าง ๑.๗-๒.๐ เซนติเมตร ขอบใบเรียบไม่มีจัก เนื้อใบหนาแข็ง เขียวเข้ม ก้านใบสั้น

ดอก ออกตามปลายยอด ปลายกิ่ง ออกเป็นช่อ หรือเป็นกระจุก ราว ๒๐-๕๐ ดอก เส้นผ่าศูนย์กลางดอก ราว ๔-๕ เซนติเมตร มีทั้งดอกซ้อนและดอกชั้นเดียว (ดอกลา) ดอกที่มีกลีบชั้นเดียวจะมีกลีบดอก ๕ กลีบ ลักษณะดอกจะเป็นรูปกรวยหรือปากแตร กลีบดอกบาน ออกจากกัน กลีบดอกมีสีชมพูและขาว มีกลิ่นหอม ชนิดดอกซ้อนสีชมพูจะดอกโตและกลิ่นหอมกว่าดอกกลีบชั้นเดียวหรือดอกสีขาว ยี่โถออกดอกได้ทั้งปี

ผล เมื่อดอกผสมเกสรและร่วงไปแล้วจะติดผลเป็นรูปฝักยาว ดอกละ ๒ ฝัก เมื่อแก่เปลือกแข็งจะแตกออก เมล็ดที่มีอยู่ภายในจำนวนมาก จะมีขนคล้ายเส้นไหมติดอยู่ทำให้ลอยลมไปได้ไกลๆ
สรรพคุณทางยา:
    -    ดอกแก้อักเสบ แก้ปวดศีรษะ 

ดอกพุดซ้อน


ดอกพุดซ้อน




ชื่ออื่นๆ :เคดถวา (เหนือ)  พุดจีน พุดใหญ่ (กลาง)  พุทธรักษา (ราชบุรี)ชื่อสามัญ :Gerdenia, Cape jasmine, Garden gardenia, Kaca piring, Bunga cina (มาเลเซีย)ชื่อวิทยาศาสตร์ :Gardenia  jasminoidesวงศ์ :Rubiaceaeถิ่นกำเนิด :ประเทศจีนลักษณะทั่วไป :ไม้พุ่มกลมขนาดเล็กสูง 1 - 3 ม. แตกกิ่งก้านสาขามากฤดูการออกดอก :ออกดอกตลอดปี ที่สวนไม้หอมของฝ่ายปฏิบัติการวิจัยฯ ดอกบาน 2 - 3 วันเวลาที่ดอกหอม :หอมแรงตลอดวันการขยายพันธุ์ :
 การตอนกิ่ง เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ ถึง 1 เดือนจึงออกราก
ข้อดีของพันธุ์ไม้ :
 ควบคุมการออกดอกได้ด้วยการควบคุมการให้น้ำและการใส่ปุ๋ยที่เหมาะสม
ข้อแนะนำ :
 พุดซ้อนเป็นไม้หอมที่ต้องการแสงแดดจัดและความชื้นสูง การปลูกในที่มีแสงแดดไม่เพียงพอจะทำให้ไม่ค่อยออกดอก  การตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งจะทำให้ดอกมีขนาดใหญ่ขึ้น
ข้อมูลอื่นๆ :
 ราก แก้ไข้
 เปลือกต้น แก้บิด
 ใบ ตำพอก แก้อาการปวดศรีษะ
 ดอก สกัดทำน้ำมันหอมระเหย ใช้แต่งกลิ่นเครื่องสำอาง
 ผล ขับพยาธิและขับปัสสาวะ
 เมล็ด บดให้สารสีเหลืองทองชื่อ gardenin แต่งสีอาหารให้มีสีเหลือง และสารสีน้ำตาลแดง ชื่อ corcin แต่งสีอาหารให้มีสีน้ำตาลแดง

ดอกราตรี


ดอกราตรี



ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cestrum nocturnum
วงศ์ : SOLANACEAE (The Tomato Family หรือ The Nightshade Family)
ชื่อสามัญ : Night Hessamine, Queen of the Night
ชื่ออื่น ๆ : ดอกหอมดึก, หอมดึก





ลักษณะทั่วไป

ดอก : ออกเป็นช่ออยู่ตามส่วนยอดและตามโคนก้านใบ ช่อหนึ่ง ๆ จะมีดอกจับกลุ่มกันอยู่มากมาย ซึ่งดอกราตรีนี้จะมีขนาดเล็กมากโตประมาณ ๐.๕ เซนติเมตร และยาว ๒ เซนติเมตร ตรงปลายดอกจะแยกออกเป็น ๕ แฉก คล้ายกับรูปดาว ดอกมีสีขาวอมเขียวอ่อน ๆ จะมีกลิ่นหอมมาก ๆ ก็ในเวลากลางคืนเท่านั้น พอเช้ากลิ่นก็จะจางหายไป และจะมีกลิ่นอีกทีก็ตอนกลางคืน จึงได้ชื่อว่า "ดอกราตรี"


ใบ : เป็นไม้ใบเดี่ยว ออกใบดกมาก เป็นพุ่มหนาทึบมีสีเขียว ลักษณะของใบเป็นรูปหอก ปลายใบและโคนเรียวแหลม ยาวประมาณ ๑๒-๑๕ เซนติเมตร เมื่อเด็ดใบดูจะมีกลิ่นเหม็นเขียว
ต้น : ราตรีเป็นพรรณไม้พุ่มยืนต้นขนาดย่อมที่จะแตกกิ่งก้านสาขาออกมามากมาย ลำต้นสูงประมาณ ๒-๔ เมตร มีเปลือกสีขาวหรือสีเทาอ่อน ๆ





การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจัด และเจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิดโดยไม่เลือกดินแต่ต้องมีการระบายน้ำดี ต้องการน้ำปานกลาง ขยายพันธุ์การปักชำ



โทษ : ใบมีสาร steroid sapogenin มีพิษต่อหัวใจ ผลดิบมีสารชื่อ solanine ทำให้ท้องร่วงและอาเจียนอย่างรุนแรง ผลสุกมีสารชื่อ atropine ทำให้วิงเวียน ปวดศรีษะ ใจสั่น ประสาทหลอน ม่านตาขยาย ปากแห้ง หลับ ถ้ารับประทานอาจถึงตายได้

การเป็นมงคล

นอกจากจะมีกลิ่นหอมชื่นใจยังให้ความ เป็นสิริมงคลดีมาก ยังเชื่อว่าจะทำให้ผู้ปลูกร่ำรวยยิ่งขึ้นอีกด้วย

อื่น ๆ : มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเกาะอินดีสตะวันตก และพระราชนิพนธ์ของราชกาลที่ ๗ ยังมีเพลงดอกราตรีประดับดาว ได้กล่าวถึงดอกราตรีอีกด้วย

ดอกชบา


ดอกชบา



ชื่อสามัญ                                Chinese rose

ชื่อวิทยาศาสตร์                    Hibiscus rosa sinensis.

ตระกูล                                    MALVACEAE 

ถิ่นกำเนิด                              จีน อินเดียและฮาวาย
ลักษณะทั่วไป
ชบาในบ้านเรารู้จักกันมานานแล้ว จะเห็นได้จากบ้านคนสมัยก่อนจะมีชบายอยู่แทบทุกบ้านปัจจุบันชบาได้รับการผสมพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ออกมามากมาย ซึ่งล้วนแต่สวย ๆ งาม ๆทั้งนั้น ทำให้ได้ดอกของชบาที่มีรูปร่างสวยงามสีสันของดอกสดใส ขบานั้นจัดเป็นไม้พุ่ม ความสูงดดยทั่วไปประมาณ 2.50 เมตร ใบมีสีเขียวเข้ม มนรี ปลายใบแหลม แต่ปัจจุบันก็ยังมีพันธุ์ แตกต่างออกไปอีกมากมาย
การดูแล
แสง                          ชอบแสงแดดมาก

น้ำ                             ต้องการน้ำพอประมาณ

ดิน                           เป็นไม้ที่ปลูกได้ง่ายสามารถเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ไม่ควรให้ดินเปียกหรือแฉะเกินไป

ปุ๋ย                           ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก

การขยายพันธ์              ตอน ปักชำ

โรคและแมลง               ไม่ค่อยมีโรคจะมีก็แต่เพลี้ยที่รบกวนอยู่

การป้องกันกำจัด         ฉีดพ่นด้วยยามาลาไธออนหรือไดอาซินอน ตามคำแนะนำที่ระบุไว้ในฉลาก
ลักษณะเด่น
คือ มีเส้นใยและยางเมือก (mucilagnous) อยู่ในเนื้อไม้โดยทั่วไปเป็นไม้พุ่มขนาดกลางใบเป็นใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับมีรูปร่างหลายแบบ เช่น รูปไข่ รูปกลม รูปรีหรือเว้าเป็นแฉก3-5 แฉก มีกลีบดอก กลีบแต่ละดอกจะเชื่อมติดกันเป็นวงที่ฐานดอกเกสรเพศผู้ประกอบด้วยอับเรณูสีเหลืองรูปไตและก้านชูอับเรณูสีขาวหรือสีเดียวกันเกสรเพศเมีย อยู่ปลายหลอดเกสรเพศผู้มักมีก้านเล็ก ๆ แยกยอดเกสรเพศเมียเป็น ยอกตามจำนวนห้องรังไข่ส่วนยอดมีน้ำหวานสำหรับจับละอองเรณ
ประเภทของดอกอาจแบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ
1.ดอกบานเป็นรูปถ้วย
2.ดอกบานเป็นรูปแผ่แบน
3.กลีบดอกบานแบบแผ่โค้ง
การขยายพันธุ์
การขยายพันธุ์มี 3 วิธี คือ
1.การปักชำ
2.การเสียบยอด
3.การติดตา
โรคและแมลงศัตรู
1. โรค ที่พบในชบาได้แก่ โรคใบจุดในช่วงฤดูฝน โรคใบหงิกที่เกิดจากเชื้อไวรัสโดยมีแมลงหวี่ขาวเป็นพาหะ

2. แมลงศัตรุ ที่พบมากได้แก่ แมลงหวี่ขาวดูดน้ำเลี้ยงจากใบและยอดอ่อนทำให้เกิดโรค ใบหงิก เพลี้ยแป้ง เพี้ยหอย
ดูดน้ำเลี้ยงจากใบและกิ่งก้านนอกจากนี้ยังมีหนอนผีเสื้อบางชนิดกัดกินดอกอ่อนทำให้ดอกไม่บานหรือกลีบเว้าแห่วง

3. สัตว์สัตรู ได้แก่ หอยทาก ทำลายโดยการกัดกินดอก กำจัดโดยใช้มือดึงออกหรือโรยปูนขาวรอบพื้นที่ปลูก
สรรพคุณทางยาและประโยชน์
ในคัมภีร์อายุรเวท พูดถึงสรรพคุณของดอกชบาว่า ช่วยฟอกโลหิต บำรุงจิตใจให้แช่มชื่น บำรุงผิวพรรณ นอกจากนี้ยังช่วยรักษาและบรรเทาโรคเกี่ยวกับไต และโดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง เช่นเสียเลือดประจำเดือนมากเกินไป ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ รวมทั้งปัญหาเรื่องระดูขาวไม่เพียงแต่ดอกชบาเท่านั้นที่ใช้เป็นยาดีของอินเดีย ส่วนอื่นๆของชบายังใช้เป็นยารักษาโรคได้ด้วย อย่างเช่น เปลือกต้นชบาใช้รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา ใบชบาใช้แก้แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก บำรุงผม
  • ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มีระดูขาว - นำดอกชบาสด 4 ดอกมาตำให้แหลก แล้วกินตอนท้องว่างในตอนเช้าติดต่อกัน 7 วัน นำดอกชบามาตากให้แห้งในที่ร่ม เมื่อแห้งสนิทดีแล้ว เอามาบดเป็นผง กินครั้งละ 1 ช้อนชาตอนเช้าติดต่อกันนาน 7 วัน
  • ประจำเดือนไม่มา ใช้ดอกชบา 3 ดอกบดให้แหลก แล้วผสมกับน้ำมะนาวสัก 2 ช้อนโต๊ะ หรือผสมกับนม 1 แก้ว แล้วดื่มตอนท้องว่างตอนเช้า จะช่วยปรับเรื่องประจำเดือนได้ เอาเฉพาะกลีบดอกชบาผสมกับน้ำตาลอ้อยหรือน้ำตาลปี๊บอย่างละเท่าๆ กันใส่ในโถแก้วมีฝาปิด แล้วเอาโถแก้วออกตากแดดติดต่อกันสัก 21 วัน น้ำตาลจะละลายผสมกับดอกชบา พอครบกำหนดแล้วเอามากินครั้งละ 2 ช้อนชา วันละ 2 ครั้ง นานสองถึงสามสัปดาห์ ยาสูตรนี้ถือว่า เป็นยาบำรุงประจำเดือน
  • ดับร้อนและแก้ไข้ - ใช้ดอกชบา 4 ดอกแช่ในน้ำต้มสุก 2 แก้ว แล้วดื่มต่างน้ำ จะช่วยดับร้อนผ่อนกระหายและแก้ไข้ได้ดี
  • รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ฮ่องกงฟุต - ใช้เปลือกต้น 50 กรัม แช่ในแอลกอฮอล์ 150 ซีซี นานหนึ่งวัน แล้วกรองเอาแต่น้ำยาไว้ทาบริเวณที่เป็นฮ่องกงฟุต
  • รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก - ใช้ใบชบาหรือฐานดอกก็ได้มาตำให้แหลก แล้วเอามาพอกบริเวณที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก น้ำเมือกจากใบจะช่วยรักษาแผลได้เป็นอย่างดี
  • บำรุงผม - ใช้ใบชบาหนึ่งกำมือมาล้างให้สะอาด ตำให้แหลก เติมน้ำเล็กน้อย แล้วคั้นเอาแต่น้ำ กรองเอากากทิ้ง แล้วใช้น้ำเมือกจากใบชบาสระผม ช่วยชำระล้างสิ่งสกปรก และบำรุงเส้นผมให้ดกดำเป็นเงางาม

ดอกชงโค



ชื่อวิทยาศาสตร์     Bauhinia glauca   Wall. ex Benth.

ตระกูล                CAESALPINIACEAE
ชื่อสามัญ            Orchid Tree, Purder
ลักษณะทั่วไป
ชงโคเป็นไม้ยืนต้นขนาดย่อมสูงประมาณ ๕-๑o เมตร กิ่งอ่อนมีขนปกคลุม ใบเป็นใบเดี่ยวรูปหัวใจ ปลายใบเว้าลึกมาก ปลายใบทั้งสองด้านกลมมน มองดูคล้ายใบแฝดติดกัน (คล้ายใบกาหลง แต่เว้าลงลึกกว่า) ใบทั้งสองด้านมักพันเข้าหากันเหมือนปีกผีเสื้อ ทำให้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นใบแฝด (เหมือนกาหลง) เพราะปกติใบไม้ทั่วไปจะมีปลายใบแหลม หรือกลมมน ลักษณะของชงโคเป็นพุ่มค่อนข้างกว้างและใบดกทึบ เป็นต้นไม้ผลัดใบในฤดูหนาว (พฤศจิกายน-ธันวาคม) แล้วผลิใบ ใหม่ราวเดือนเมษายน-พฤษภาคม

ดอก ชงโคจะเริ่มออกดอกหลังจากผลิใบชุดใหม่ออกมาแล้ว คือหลังเดือนเมษายนเป็นต้นไป ดอกออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ช่อยาวกว่าดอกกาหลง แต่ละช่อมีดอกย่อยราว ๖-๑o ดอก แต่ละดอกมีกลีบย่อย ๕ กลีบ รูปทรงคล้ายดอกกล้วยไม้ ตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้เป็นเส้นยาว ๕ เส้น ยื่นไปด้านหน้าและปลายโค้งขึ้นด้านบน มีเกสรตัวเมียอยู่ตรงกลาง ๑ เส้น มีความยาวและโค้งขึ้นสูงกว่าเกสรตัวผู้ ดอกบานเต็มที่กว้างราว ๗-๙ เซนติเมตร มีกลิ่นหอมอ่อนๆ กลีบดอกชงโคมีสีชมพูถึงม่วงแดง ผันแปรไปตามสายพันธุ์ของแต่ละต้นที่เกิดจากการเพาะเมล็ด หากต้องการให้มีสีเดียวกัน ต้องใช้วิธีขยายพันธุ์ด้วยกิ่ง เช่น ติดตาหรือทาบกิ่ง ดอกชงโคติดต้นอยู่ได้นานนับเดือน

ผล ลักษณะเป็นฝักแบนคล้ายฝักถั่ว แก่ประมาณเดือนกันยายน-ธันวาคม ขนาดกว้างราว ๑.๕ เซนติเมตร ยาว ๑๕-๒o เซนติเมตร เมล็ดค่อนข้างแบน ฝักแก่จะแตกออกเป็นสองซีกตามความยาวของฝัก
ถิ่นกำเนิดเดิมของชงโคอยู่แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น อินเดีย พม่า ไทย กัมพูชา มาเลเซีย และสิงคโปร์ เป็นต้น ในประเทศไทยพบขึ้นปะปนอยู่กับต้นไม้ชนิดอื่นๆ ในป่าโปร่งผสม และป่าเบญจพรรณ ทางภาคเหนือและภาคกลางจะพบมากกว่าภาคอื่น คนไทยรู้จักชงโคมาตั้งแต่อพยพมาอยู่พื้นที่ประเทศ ไทยปัจจุบัน ชื่อชงโคมีปรากฏอยู่ในวรรณคดีไทย สมัยอยุธยาเป็นต้นมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ พ.ศ. ๒๔๑๖ อธิบายเกี่ยวกับชงโคไว้ว่า"ชงโค เป็นชื่อต้นไม้อย่างหนึ่งเหมือนอย่างต้นกาหลง  แต่สีมันแดง" แสดงว่าคนไทยกรุงเทพฯ สมัย ๑๓๒ ปีก่อนโน้น รู้จักทั้งกาหลงและชงโคเป็นอย่างดี ว่ามีลักษณะคล้ายคลึงกัน ต่างกันที่สีของดอกเท่านั้น เพราะกาหลงมีกลีบดอกสีขาว ส่วนชงโคกลีบดอกออกไปทางสีแดง (ชมพู-ม่วง) ชื่อที่เรียกกันในเมืองไทยคือ ชงโค (กรุงเทพฯ-ภาคกลาง) เสี้ยวหวาน (แม่ฮ่องสอน) เสี้ยวดอกแดง (เหนือ) ภาษาอังกฤษ เรียก ORCHID TREE
การดูแล
ชงโคเป็นไม้ที่ชอบแดด ควรปลูกในที่ได้รับแสงแดดทั้งวัน ดินปลูกควรเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทรายที่ระบายน้ำดี มีความชื้นสูง
ประโยชน์ของชงโค  
ชงโคมีสรรพคุณด้านสมุนไพร ตามตำราแพทย์แผนไทย ดังนี้
เปลือกต้น : แก้ท้องเสีย แก้บิด
ดอก : แก้พิษไข้ร้อนจากเลือดและน้ำดี เป็นยาระบาย
ใบ : ฟอกฝี แผล
ราก : ขับลม
ชาวฮินดูถือว่าชงโคเป็นต้นไม้ของสวรรค์ขึ้นอยู่ในเทวโลก และนับถือว่าเป็นต้นไม้ของพระลักษมีพระชายาของพระนารายณ์ จึงนับเป็นต้นไม้มงคลยิ่งชนิดหนึ่ง  ควรแก่การเคารพบูชา และปลูกเอาไว้ในบริเวณบ้านเรือน หรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ในฐานะต้นไม้ประดับ ชงโคเหมาะสำหรับปลูกตามสถานที่ต่างๆ มากมายเพราะปลูกง่ายไม่เลือกดินฟ้าอากาศ (ในเขตร้อน) ดูแลรักษาง่าย แข็งแรง ทนทาน ขนาดไม่ใหญ่โตเกินไป ทรงพุ่มใบ ดอกงดงาม ดอกบาน ทนนาน การปลูกหากใช้การเพาะเมล็ด ที่จะออกดอกภายในเวลา ๓-๕ ปี ซึ่งนับว่าไม่นาน หากปลูกจากกิ่งจะเร็วกว่านี้อีกประมาณเท่าตัว
ชงโคอาจจะได้รับความนิยมมากกว่านี้ หากมีชื่อที่ไพเราะถูกใจคนไทย (ภาคกลาง) สันนิษฐานว่าเหตุที่ใช้ชื่อชงโค อาจจะมาจากลักษณะใบแฝดติดกัน คล้ายรอยเท้าวัวก็เป็นได้ แต่ไม่ว่าจะชื่ออะไร ชงโคก็คงมีคุณสมบัติที่ดีงามดั้งเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ดังเช่นที่เคยเป็นมาจากอดีต

ดอกอัญชัน


ดอกอัญชัน


อัญชัน สรรพคุณและประโยชน์ของดอกอัญชัน 30 ข้อ !!

อัญชัน


อัญชัน ภาษาอังกฤษ : Butterfly pea. หรือ Blue pea. ส่วนดอกอัญชัน ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clitoria ternatea L.สำหรับชื่อพื้นเมืองอื่นๆ เช่น แดงชัน(เชียงใหม่) , เอื้องชัน(ภาคเหนือ) เป็นต้นเป็นพืชที่มีต้นกำเนิดในแถบอเมริกาใต้ ปลูกทั่วไปในเขตร้อน ลักษณะของดอกอัญชันจะมีสีขาว สีฟ้า สีม่วง ส่วนตรงกลางดอกจะมีสีเหลือง และรูปทรงคล้ายหอยเชลล์
อัญชัน สรรพคุณนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพราะมีสารที่ชื่อว่า “แอนโทไซยานิน” (Anthocyanin) ซึ่งมีหน้าที่ไปช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆได้ดีมากขึ้น เช่น ไปเลี้ยงบริเวณรากผม ซึ่งช่วยทำให้ผมดกดำ เงางาม หรือไปเลี้ยงบริเวณดวงตาจึงช่วยบำรุงสายตาไปด้วยในตัว หรือไปเลี้ยงบริเวณปลายนิ้วมือ ซึ่งก็จะช่วยแก้อาการเหน็บชาได้ด้วย และที่สำคัญสารนี้ยังมีความโดดเด่นที่ใครหลายๆคนยังไม่ทราบนั้นก็คือ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดเส้นเลือดอุดตันได้และการ “กินดอกอัญชันทุกวัน…วันละหนึ่งดอก” จะช่วยป้องกันโรคเส้นเลือดสมองตีบได้อีกด้วย
เนื่องจากดอกอัญชันนั้นมีในการฤทธิ์ละลายลิ่มเลือด สำหรับผู้มีเลือดจางห้ามรับประทานดอกอัญชันเด็ดขาด หรืออาหารเครื่องดื่มที่ย้อมสีด้วยอัญชันก็ไม่ควรรับประทานบ่อยๆ

สรรพคุณอัญชัน

  1. สรรพคุณอัญชันน้ำอัญชันมีส่วนช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย
  2. เครื่องดื่มน้ำอัญชันช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกายและเพิ่มพลังงานให้ร่างกาย
  3. มีส่วนช่วยในการชะลอวัยและริ้วรอยแห่งวัย
  4. ประโยชน์ของดอกอัญชัน มีส่วนช่วยในการบำรุงสมอง เพิ่มการไหลเวียนเลือด
  5. ดอกอัญชันมีฤทธิ์ในการละลายลิ่มเลือด
  6. ช่วยป้องกันโรคเส้นเลือดสมองตีบ
  7. ช่วยรักษาอาการผมร่วง (ดอก)
  8. อัญชันทาคิ้ว ทาหัว ใช้เป็นยาปลูกผม ปลูกขนช่วยให้ดกเดาเงางามยิ่งขึ้น (น้ำคั้นจากดอก)
  9. ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดเส้นเลือดอุดตัน
  10. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจอุดตัน
  11. ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็งด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ
  12. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน
  13. อัญชันมีคุณสมบัติในการช่วยล้างสารพิษและของเสียออกจากร่างกาย
  14. ช่วยบำรุงสายตา แก้อาการตาฟาง ตาแฉะ (น้ำคั้นจากดอกสดและใบสด)
  15. ช่วยป้องกันโรคต้อกระจก ต้อหิน ตามเสื่อมจากโรคเบาหวาน (ดอก)
  16. ช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็นให้ดียิ่งขึ้น
  17. นำรากไปถูกับน้ำฝน นำมาใช้หยอดตาและหู (ราก)
  18. นำมาถูฟันแก้อาการปวดฟัน และทำให้ฟันแข็งแรง (ราก)
  19. ใช้เป็นยาระบาย แต่อาจทำให้คลื่นไส้อาเจียนได้ (เมล็ด)
  20. อัญชันสรรพคุณใช้รากปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ (ราก,ใบ)
  21. แก้อาการปัสสาวะพิการ
  22. สรรพคุณอัญชันใช้แก้อาการฟกช้ำ (ดอก)
  23. ช่วยป้องกันและแก้อาการเหน็บชาตามนิ้วมือนิ้วเท้า
  24. นำมาทำเป็นเครื่องดื่มน้ำอัญชันเพื่อใช้ดับกระหาย
  25. ดอกอัญชันตากแห้งสามารถนำมาชงดื่มแทนน้ำชาได้เหมือนกัน
  26. ดอกอัญชันนำมารับประทานเป็นผักก็ได้ เช่น นำมาจิ้มน้ำพริกสดๆ หรือนำมาชุบแป้งทอดก็ได้
  27. น้ำดอกอัญชันนำมาใช้ทำเป็นสีผสมอาหารโดยให้สีม่วง เช่น ขนมดอกอัญชัน ข้าวดอกอัญชัน (ดอก)
  28. ช่วยปลูกผมทำให้ผมดกดำขึ้น (ดอก)
  29. ใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่างๆ อย่าง ครีมนวดผม ยาสระผม เป็นต้น
  30. ประโยชน์ของอัญชันข้อสุดท้ายคือนิยมนำมาปลูกไว้ตามรั้วบ้านเพื่อความสวยงาม

วิธีทำน้ำดอกอัญชัน

  1. ประโยชน์ของดอกอัญชันวัตถุดิบที่ต้องเตรียม มีดังนี้ น้ำดอกอัญชัน 1 ถ้วย / น้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ / น้ำเชื่อม 4 ช้อนโต๊ะ
  2. ขั้นตอนแรกให้ทำน้ำดอกอัญชันก่อน ด้วยการนำดอกอัญชันสดประมาณ 100 กรัม นำมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วใส่หม้อเติมน้ำเปล่า 2 ถ้วยนำไปต้มจนเดือด ปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ 3 นาทีแล้วกรองดอกอัญชันขึ้นจากหม้อ
  3. ต่อมาก็ทำน้ำเชื่อม โดยใช้สัดส่วน น้ำเปล่า 500 กรัม / น้ำตาลทราย 500 กรัม
  4. เมื่อได้ส่วนผสมครบแล้วให้นำน้ำดอกอัญชัน น้ำเชื่อม น้ำผึ้ง ผสมรวมกันตามสัดส่วนที่ระบุไว้ในข้อแรก
  5. ชิมรสชาติตามชอบใจ เสร็จแล้วน้ำดอกอัญชัน
  6. ถ้าหากจะทำเป็นน้ำพันซ์ให้ใช้ส่วนผสมดังนี้ น้ำดอกอัญชันครึ่งถ้วย / น้ำผึ้ง 4 ช้อนโต๊ะ / น้ำเชื่อม 6 ช้อนโต๊ะ / น้ำมะนาวครึ่งถ้วย / และน้ำโซดาเย็นประมาณ 1 ขวด แล้วนำมาผสมรวมกันชิมรสชาติจนเป็นที่พอใจแล้วใส่น้ำแข็งเกล็ดเพื่อความสดชื่นอีกที
  7. ถ้าต้องการทำเป็นน้ำชาไว้ดื่ม ก็ใช้ดอกอัญชันที่ตากแห้งแล้ว ประมาณ 25 ดอก นำมาชงในน้ำเดือด 1 ถ้วยแล้วนำมาดื่ม
  8. หรือจะใช้อีกสูตร ก็คือให้เตรียม ดอกอัญชัน 3 ดอก / น้ำเปล่า 1 แก้ว / น้ำตาลทราย (ตามความต้องการ) / น้ำมะนาว (ตามความต้องการ)
  9. นำดอกมาเด็ดก้านเขียวๆออกๆ แล้วนำไปล้างให้สะอาด
  10. ต้มน้ำแล้วใส่ดอกอัญชันลงไป รอจนเดือด จนน้ำเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเดียวกับดอก
  11. ใส่น้ำตาลลงไปตามใจชอบ
  12. เสร็จกรองเอากากออก แล้วทิ้งไว้ให้เย็น
  13. นำมาปรุงรสนิดหน่อยด้วยการมะนาวตามความต้องการ (สีของน้ำจากสีฟ้าก็จะกลายเป็นสีม่วง)
  14. นำมาดื่มพร้อมใส่น้ำแข็ง เย็นชื่นใจจุงกะเบย
คำแนะนำ
  • ควรดื่มทันทีเมื่อทำเสร็จ เพื่อรักษาคุณทางสารอาหารและยา
  • ไม่ควรดื่มน้ำสมุนไพรในอุณหภูมิที่ร้อนจัด หรือมีอุณหภูมิเกิน 60 องศาเซลเซียสขึ้นไป เพราะอาจจะทำให้เยื่อบุผิวหลอดอาหารเสียสภาพภูมิคุ้มกันได้ ทำให้ดูดซับสารก่อมะเร็งและสารอื่นๆได้ง่าย
  • ไม่ควรดื่มน้ำสมุนไพรใดๆชนิดเดียวติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งอาจจะเป็นผลเสียต่อร่างกายมากกว่าผลดี

ดอกแก้ว


ดอกแก้ว


ดอกไม้ประจำจังหวัดสระแก้ว-ดอกแก้ว


ชื่อดอกไม้

ดอกแก้ว

ชื่อสามัญ

Orang Jessamine

ชื่อวิทยาศาสตร์

Murraya paniculata

วงศ์

RUTACEAE

ชื่ออื่น

แก้ว, แก้วขาว (ภาคกลาง), แก้วขี้ไก่ (ยะลา), แก้วพริก, ตะไหลแก้ว (ภาคเหนือ)

ลักษณะทั่วไป

แก้วเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางสูงประมาณ 5–10 เมตร ทรงพุ่มไม่เป็นระเบียบ ใบออกเป็นช่อ เป็นแผงเรียงสลับกัน ใบเป็นมันสีเขียวเข้ม ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย ออกดอกเป็นช่อใหญ่ ช่อสั้น ออกตามปลายกิ่ง กลิ่นหอม ดอกบานเต็มที่ขนาด 2–3 เซนติเมตร ผลรูปไข่ รี ปลายทู่ มีสีส้ม ภายในมีเมล็ด 1–2 เมล็ด

การขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง

สภาพที่เหมาะสม

ดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย แสงแดดจัด

ดอกกุหลาบ


ดอกกุหลาบ


ชื่อวิทยาศาสตร์ Rosa spp. and hybrid

ชื่อสามัญ :Rose
วงศ์ : Rosaceae
ลักษณะทั่วไป
กุหลาบนับว่าเป็นไม้ดอกที่มีความงามยากที่ไม้ดอกอื่นจะเทียบเท่า จนได้รับชื่อว่าเป็น"ราชินีแห่งดอกไม้" (Queen of flower)  กุหลาบมีมานานประมาณ 30 ล้านปีมาแล้ว มีทั้งหมดประมาณ200 สปีชี่ส์ พันธุ์ดั้งเดิม(wild species) มีทั้งชนิดกลีบดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน
ส่วนกุหลาบที่ปลูกกันอยู่ทั่วไปในปัจจุบันเป็นกุหลาบที่ผ่านการวิวัฒนาการมานานนับร้อยๆ ปีและทั้งหมดเป็นกุหลาบลูกผสมซึ่งได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างกุหลาบ 1-8 สปีชี่ส์ และส่วนมากมีถิ่นกำเนิดในทวีปเอเชีย
ใบ :   ใบประกอบแบบขนนก  เรียงสลับ ใบย่อย 3-5 ใบ ใบรูปไข่ กว้าง 1.5-3 เซนติเมตร ยาว 5-10 เซนติเมตร  ปลายใบแหลม  โคนใบมน  ขอบใบจักฟันเลื่อย  แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมันและมีรอยย่นเล็กน้อย
ดอก :   มีหลายสีแตกต่างกันตามชนิดพันธุ์  เช่น สีเหลือง ส้ม แดง ขาว ชมพู   มีกลิ่นหอม  ออกเป็น
ดอกเดี่ยวหรือดอกช่อที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีเขียว 5 กลีบ  มีทั้งดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน  กลีบดอกมีตั้งแต่   5 กลีบขึ้นไป     หากเป็นลูกผสมจะมีจำนวนกลีบดอกมากเรียงซ้อนกันหลายชั้น     ดอกบานเต็มที่กว้าง   10-15 เซนติเมตร
ผล :   ผลแห้ง  รูปไข่  กว้าง 1.5-2 เซนติเมตร  ยาว 2.5-3 เซนติเมตร เมื่อสุกสีแดง มีเมล็ดจำนวนมาก เมล็ดล่อน
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง, ปักชำกิ่งและราก, ติดตา, ต่อกิ่ง, เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
สีกุหลาบสื่อความหมาย
วันวาเลนไทน์ ซึ่งเป็นวันแห่งความรัก ดอกกุหลาบถือเป็นสัญลักษณ์ และของกำนัลของวันนี้ ดังนั้นเวลาที่คิดจะให้ดอกกุหลาบแก่ใครสักคน เราก็น่าจะรู้ความหมายของสีอันเป็นสื่อความหมายของดอกกุหลาบไว้บ้างก็น่าจะดี ซึ่งก็จะมีความดังน
  • สีแดง สื่อความหมายถึง ความรักและความปรารถนา เป็นดอกไม้ของกามเทพ คิวปิด และอีรอส เป็นสิ่งนำโชคนำความรักมาให้แก่หญิงหรือชายที่ได้รับ
  • สีชมพู สื่อความหมายถึง ความรักที่มีความสุขอย่างสมบูรณ์
  • สีขาว สื่อความหมายถึงความมีเสน่ห์ความบริสุทธิ์มิตรภาพและความสงบเงียบและนำโชคมาให้แก่หญิงหรือชายเช่นเดียวกับกุหลาบแดง
  • สีเหลือง สื่อความหมายถึง เราเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันเสมอนะ
  • สีขาวและแดง สื่อความหมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
  • กุหลาบตูม สื่อความหมายถึง ความงามและความเยาว์วัย
 พันธุ์ของดอกกุหลาบ
   กุหลาบที่ปลูกในประเทศไทยปัจจุบันนี้มีอยู่ด้วยกันหลายประเภทซึ่งถ้า แบ่งออกโดยสังเขปจะได้ดังนี้
1. กุหลาบตัดดอกหรือไฮบริดที (Hybrid Tea หรือ HT)J ปกติมัก ออกดอกเป็นดอกเดี่ยว มีขนาดโตกลีบดอกซ้อน พุ่มต้นตั้งตรงสูงประมาณ 1-2 เมตร กุหลาบที่มีขายทั่วไปตามท้องตลาด ขณะนี้มักจะเป็นกุหลาบประเภทนี้ อย่างไร ก็ตาม พันธุ์ ไฮบริดที นั้น มิได้ใช้บลูกเป็นไม้ตัดดอกได้ดี
ทุกพันธุ์ ดังนั้น จำเป็นต้องคัดเลือกพันธุ์ให้เหมาะสมสำหรับแต่ละท้องที่ 

ปัจจุบันกุหลาบที่นิยมปลูกเป็นไม้ตัดดอกในประเทศไทยมีอยู่มากมายหลายพันธุ์แต่พันธุ์ที่กรมส่งเสริมการเกษตรแนะนำให้ปลูกมีดังนี้
พันธุ์ดอกสีแดง ได้แก่ พันธุ์บราโวเรดมาสเตอร์พีชคริสเตียนดิออร์โอลิมเปียดนอริค้าแกรนด์มาสเตอร์พีชปาปามิลแลนด์เวก้า
พันธุ์ดอกสีเหลือง ได้แก่ พันธุ์คิงส์แรนซัมซันคิงส์เฮสมุดสมิดท์,นิวเดย์ โอรีโกลด์ และเมลิลอน
พันธุ์ดอกสีส้ม ได้แก่ พันธุ์ซันดาวน์เนอร์แซนดราซุปเปอร์สตาร์หรือทรอพปิคานา
พันธุ์ดอกสีชมพู ได้แก่ พันธุ์มิสออลอเมริกาบิวตี้ หรือมาเรียคาสลาสไอเฟลทาวเวอร์สวาทมอร์เฟรนด์ชิพ, เพอร์ฟูมดีไลท์จูวังแซลเฟิร์สท์ไพรซ์อเควเรียสซูซานแฮมเชียร์
พันธุ์ดอกสีขาว ได้แก่ พันธุ์ไวท์คริสต์มาส เอทีนา
 พันธุ์ดอกสีอื่นๆ ได้แก่ พันธุ์แยงกี้ดูเดิ้ลดับเบิ้ลดีไลท์เบลแอนจ์
นอกจากนี้ยังมีกุหลาบสำหรับเด็ดดอกร้อยพวงมาลัย เช่น กุหลาบพันธุ์ฟูซิเลียร์ ซึ่งมีดอกสีส้ม 
2. กุหลาบพวง หรือ ฟลอริบันด้า ( Foribunda หรือ F.) กุหลาบพวงมีความแข็งแรงทนทานกว่ากุหลาบตัดดอกออกดอกดกแต่ดอกไม่ใหญ่เท่ากับกุหลาบตัดดอกแต่มีครบทุกสี และออกดอกเป็นช่อทีละหลาย ๆ ดอก จึงนิยมเรียกว่ากุหลาบพวง และมักบานพร้อมกัน  ดอกมีขนาดเล็ก พุ่มต้นตั้งตรงสูง ประมาณครึ่งเมตรถึง 1 เมตรเหมาะสมที่จะปลูกในแปลง  ประดับและในกระถางเช่น พันธุ์ฟูซีเลียร์พันธุ์แองเจลเฟส
3. ประเภทแกรนดิฟลอร่า (Grandiflora หรือ Gr. ) กุหลาบประเภทนี้เป็นกุหลาบลูกผสมระหว่างกุหลาบตัดดอก และกุหลาบพวง มีลักษณะเป็นดอกเดี่ยว แต่ดอกเล็กกว่ากุหลาบตัดดอก มีก้านยาว ต้นโต สูง และแข็งแรง เช่ น พันธุ์คาเมล็อท, พันธุ์คาเสทไนท์
4. กุหลาบ หรือ มินิเอเจอร์ (Miniature หรือ Min.) เป็นกุหลาบที่มีขนาดพุ่มต้นเล็ก สูง 1- 2 ฟุต ออกดอกเป็นพวง และดอกมีขนาดเล็ก นิยมปลูกประดับแปลง และใช้เป็นไม้กระถาง เช่น พันธุ์เบบี้ มาสเคอร์เหรด
5. กุหลาบเลื้อย หรือ ไคลมเบอร์ (Climher หรือ Cl.) กุหลาบชนิดนี้ลำต้นสูงตรง นำไปเลื้อยพันกับสิ่งต่าง ๆ ได้ดอกมีทั้งเป็นดอกขนาดใหญ่ และดอกเป็นพวง เช่น พันธุ์ดอนจวน,พันธุ์ค็อกเทล
6. ประเภทโพลีแอนท่า (Polyantha หรือ Pol.) เป็นกุหลาบลูกผสมระหว่างพันธุ์โรซ่า มัลติฟอร่า กับ โรซ่า ไชเนนซิสมีขนาดพุ่มต้นเตี้ย แข็งแรงและทนทานมาก ออกดอกเป็นพวงคล้าย กุหลาบพวง ลักษณะดอกและต้นคล้ายกุหลาบหนูแต่จะแตกต่างกับกุหลาบหนูตรงที่กุหลาบโพลีแอนท่าจะมีหูใบที่มีลักษณะของ
พันธุโรซ่า มัลติฟลอร่า กุหลาบประเภทนี้ เช่น พันธุ์วายวอน ราเบีย
7. ประเภทแรมเบลอร์ (Rambler หรือ R) มีลำต้นยาวและอ่อนโค้งออกดอกเป็นพวง และดอกมีขนาดเล็ก เช่น พันธ์ไดโรที เปอร์กิน
8. กุหลาบพุ่ม หรือซรับโรส (Shrub หรือ S.) ได้แก่กุหลาบพันธุ์ป่าหรือลูกผสมของพันธุ์ป่า ซึ่งมีทรงต้นเป็นพุ่ม ออกดอกเป็นช่อ ดอกมีขนาดเล็กส่วนมากมีกลีบชั้นเดียว เช่น พันธ์โรซ่า นิติด้าโรซ่า มัลติฟลอร่าโรซ่า รูโกซ่า
      กุหลาบสามารถจำแนกได้หลายแบบ เช่น จำแนกตามลักษณะการเจริญเติบโต ขนาดดอก สีดอก ความสูงต้น และจำแนก ตามลักษณะของดอก เป็นต้น ในที่นี้ได้จำแนกกุหลาบเฉพาะกุหลาบตัดดอกตามลักษณะการใช้ประโยชน์ ทางการค้าในตลาดโลกเป็น 5 ประเภทดังนี้
  • กุหลาบดอกใหญ หรือ กุหลาบก้านยาว (large flowered or long stemmed roses) กุหลาบประเภทนี้เป็นกุหลาบไฮบริดที (Hybrid Tea: HT) ที่มีดอกใหญ่ แต่การดูแลรักษายาก ผลผลิตต่ำ (100-150 ดอก/ตร.ม./ปี) และอายุการปักแจกันสั้นกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับกุหลาบ Floribunda มักมีก้านยาวระหว่าง 50-120 เซนติเมตร กุหลาบดอกใหญ่ได้รับความนิยมมากใน สหรัฐอเมริกา โคลัมเบีย เอกวาดอร์ เม็กซิโก ญี่ปุ่น ซิมบับเว โมร๊อกโก ฝรั่งเศส และ อิตาลี พันธุ์กุหลาบดอกใหญ่ที่เป็นที่นิยมในตลาดต่างประเทศได้แก่ พันธุ์ เวก้า (Vega: แดง) , มาดาม เดลบา (Madam Delbard) , วีซ่า (Visa: แดง) , โรเท โรเซ (Rote Rose: แดง) , คารล์ เรด (Carl Red: แดง) , โซเนีย (Sonia: ชมพูส้ม) , เฟิร์สเรด (First Red: แดง) , โพรฟิตา (Prophyta: ปูนแห้ง) , บิอังกา (Bianca: ขาว) , โนเบลส (Noblesse: ชมพูส้ม) และ แกรนด์ กาลา (Grand Gala: แดง) เป็นต้น
  • กุหลาบดอกกลาง หรือ กุหลาบก้านขนาดกลาง (medium flowered or medium stemmed roses) เป็นกุหลาบชนิดใหม่ ซึ่งมีลักษณะระหว่างกุหลาบดอกใหญ่ และเล็ก เป็นกุหลาบ Hybrid Tea ให้ผลผลิตสูง (150-220 ดอก/ตร.ม./ปี) อายุการปักแจกันยาว และทนการขนส่งได้ดี ความยาวก้านระหว่าง 40-60 ซม. แหล่งผลิตที่สำคัญได้แก่ประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี อิตาลี อิสราเอล ซิมบับเว เคนยา พันธุ์ที่นิยมปลูกได้แก่พันธุ์ ซาช่า (Sacha: แดง) , เมอร์ซิเดส (Mercedes: แดง) , เกเบรียล (Gabrielle: แดงสด) , คิสส์ (Kiss: ชมพู) , โกลเด้นทาม (Goldentime: เหลือง) , ซาฟารี (Safari: ส้ม) และ ซูวีเนีย (Souvenir: ม่วง) เป็นต้น
  • กุหลาบดอกเล็ก หรือ กุหลาบก้านสั้น (small flowered or short stemmed roses) เป็นกุหลาบที่ได้รับความนิยมปลูก และบริโภคกันมากในยุโรป โดยเฉพาะ เยอรมันนี และเนเธอร์แลนด์ กุหลาบก้านสั้นนี้เป็นกุหลาบ Floribunda ที่ให้ผลผลิตสูง (220-350 ดอก/ตร.ม./ปี) อายุการปักแจกันยาว และทนต่อการขนส่งดีกว่ากุหลาบดอกใหญ่ มักมีความยาวก้านระหว่าง 30-50 เซนติเมตร แหล่งผลิตกุหลาบดอกเล็กได้แก่ประเทศ เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี อิสราเอล และเคนยา พันธุ์ที่นิยมปลูกได้แก่พันธุ์ ฟริสโก (Frisco:เหลือง) , เอสกิโม (Escimo: ขาว) , โมเทรีย (Motrea: แดง) , เซอไพรซ์ (Surprise: ชมพู) , และ แลมบาด้า (Lambada: แสด) เป็นต้น
  • กุหลาบดอกช่อ (spray roses) เป็นกุหลาบชนิดใหม่ ให้ผลผลิตต่ำต่อพื้นที่ (120-160 ดอกต่อตารางเมตรต่อปี) ความยาวก้านระหว่าง 40-70 ซม. มักมี 4-5 ดอกในหนึ่งช่อ และยังมีตลาดจำกัดอยู่ เช่นพันธุ์ เอวีลีน (Evelien: ชมพู) เดียดีม (Diadeem: ชมพู) และ นิกิต้า (Nikita: แดง) เป็นต้น
  • กุหลาบหนู (miniature roses) มีขนาดเล็กหรือแคระโดยธรรมชาติ ความสูงของทรงพุ่มไม่เกิน 1 ฟุตให้ผลผลิตสูง 450-550 ดอก/ตร.ม./ปี มีความยาวก้านดอกระหว่าง 20-30 ซม. ยังมีตลาดจำกัดอยู่ยกเว้นในประเทศญี่ปุ่น แอฟริกาใต้ และอิตาล
สายพันธ์
การคัดเลือกพันธุ์กุหลาบในปัจจุบันจะคำนึงถึงประโยชน์ และความคุ้มค่าที่ผู้บริโภคจะได้รับ มากกว่าการที่ดอกสวยสะดุดตาแต่เมื่อซื้อไปก็เหี่ยวทันที ดังนั้นการคัดเลือกพันธุ์กุหลาบในปัจจุบันมักมีข้อพิจารณาดังนี้
  1. มีผลผลิตสูง ปัจจุบันกุหลาบดอกเล็กให้ผลผลิตสูงถึง 300 ดอก/ตร.ม./ปี
  2. อายุการปักแจกันนาน พันธุ์กุหลาบในสมัยทศวรรษที่แล้วจะบานได้เพียง 5-6 วัน ปัจจุบันกุหลาบพันธุ์ใหม่ ๆ สามารถปานได้ทนถึง 16 วัน
  3. กุหลาบที่สามารถดูดน้ำได้ดี
  4. กุหลาบที่ไม่มีหนามหรือหนามน้อยเพื่อความสะดวกในการจัดการ
  5. สี สีแดงยังคงครองตลาดอยู่ รองลงมาคือสีชมพู สีอ่อนเย็นตา และสองสีในดอกเดียวกัน
  6. กลิ่น เป็นที่เสียดายที่กุหลาบกลิ่นหอมมักไม่ทน แต่ก็มีการผสมพันธุ์กุหลาบตัดดอกกลิ่นหอมบ้าง สำหรับตลาดท้องถิ่น
  7. มีความต้านทานโรค และทนความเสียหายจากการจัดการสูง
การขยายพันธ์
กุหลาบ สามารถขยายพันธุ์ได้หลายวิธี เช่น การตัดชำ การตอน การติดตา และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เพื่อให้ได้ต้นกุหลาบที่มีระบบรากที่แข็งแรง และให้ผลผลิตสูงเกษตรกรมักนิยมกุหลาบพันธุ์ดีที่ติดตาบนตอกุหลาบป่า การปลูกและการจัดการ
สภาพที่เหมาะสมในการปลูก
พื้นที่ปลูก ควรปลูกในที่ที่ระบายน้ำได้ดี มีความเป็นกรดเล็กน้อย พีเอ็ช ประมาณ 6-6.5 และได้แสงอย่างน้อย 6 ชั่วโมง อุณหภูมิ อุณหภูมิที่เหมาะสมในการเจริญของกุหลาบคือ กลางคืน 15-18 องศาเซลเซียส และกลางวัน 20-25 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นช่วงอุณหภูมิที่จะทำให้ได้ดอกที่มีคุณภาพดี และให้ผลผลิตสูง หากอุณหภูมิต่ำกว่า 15 องศาเซลเซียส การเจริญเติบโตและการออกดอกจะช้าอย่างมาก หากอุณหภูมิสูงกว่า 28 องศาเซลเซียส ควรให้มีความชื้นในอากาศสูงเพื่อชลอการคายน้ำ ความชื้น ความชื้นสัมพัทธ์ที่เหมาะสมกับการเจริญของกุหลาบคือร้อยละ 70-80 แสง กุหลาบจะให้ผลผลิตสูง และดอกมีคุณภาพดี ถ้าความเข้มของแสงมาก และช่วงวันยาว
การให้น้ำ
ให้น้ำระบบน้ำหยด หรือใช้หัวพ่นน้ำระหว่างแถวปลูก อัตรา 6-7 ลิตร/ตร.ม./ วัน หรือ 49 ลิตร/ตร.ม./สัปดาห์ อาจให้ทุกวัน วันเว้นวัน หรือ 2-3 วันต่อครั้ง แล้วแต่สภาพการอุ้มน้ำของดิน อย่ารดน้ำให้ดินแฉะตลอดเวลา ควรให้ดินมีโอกาสระบายน้ำ และมีอากาศเข้าไปแทนที่บ้าง ดังนั้นใน 1 สัปดาห์ หากปลูกในโรงเรือนจะต้องใช้น้ำประมาณ 78,400 ลิตร หรือ 78.4 คิวบิคเมตร ต่อไร่ น้ำที่ใช้ควรมีคุณภาพดี มี pH 5.8-6.5
การให้ปุ๋ยก่อนปลูก
ปุ๋ยก่อนปลูกคือปุ๋ยที่ผสมกับเครื่องปลูกก่อนการปลูกพืช ซึ่งให้ประโยชน์ 2 ประการคือ
  1. ให้ธาตุอาหารที่พืชต้องการอย่างเพียงพอตั้งแต่เริ่มปลูก
  2. ให้ธาตุอาหารบางชนิดในปริมาณมากและเพียงพอสำหรับการปลูกพืชตลอดฤดู ซึ่งทำให้สามารถงดหรือลดการให้ปุ๋ยนั้น ๆ ได้
ระหว่างการปลูกพืชการให้ธาตุอาหารทุกชนิดแก่พืชในขณะปลูก ทำได้ลำบากเนื่องจากมีถึง 14 ธาตุ ธาตุบางชนิดจะมีอยู่ในดินอยู่แล้ว บางชนิดต้องให้เพิ่มเติม หากเป็นไปได้ควรส่งดินไปตรวจเพื่อรับคำแนะนำว่าควรปรับปรุงดินได้อย่างไร ซึ่งตัวอย่างสามารถส่งไปตรวจที่กองเกษตรเคมี กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพฯ
การให้ปุ๋ยระหว่างปลูก
ปริมาณ และสัดส่วนของธาตุอาหาร
การให้ปุ๋ยระหว่างปลูกพืช เนื่องจากธาตุอาหารส่วนใหญ่จะมีอยู่ในดินแล้วเมื่อปลูกพืชจึงยังคงเหลือธาตุ ไนโตรเจน และโปแตสเซืยม ซึ่งจะถูกชะล้างได้ง่าย ดังนั้นจึงต้องให้ปุ๋ย ทั้งสองในระหว่างที่พืชเจริญเติบโต ซึ่งการให้ปุ๋ยอาจทำได้โดยการให้พร้อมกับการให้น้ำ (fertigation)
การให้ปุ๋ยพร้อมกับน้ำสำหรับกุหลาบ หากให้ทุกวันจะให้ในอัตราความเข้มข้นของไนโตรเจน 160 มก./ลิตร (ppm) และหากให้ปุ๋ยทุกสัปดาห์ควรให้ในอัตราความเข้มข้นของไนโตรเจน 480 มก./ลิตร
สัดส่วนของไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P2O) และโปแตสเซียม (K2O) สำหรับกุหลาบในระยะต่าง ๆ คือ
  1. ระยะสร้างทรงพุ่ม สัดส่วน 1 : 0.58 : 0.83
  2. ระยะให้ดอก สัดส่วน 1 : 0.5 : 0.78
  3. ระยะตัดแต่งกิ่ง สัดส่วน 1: 0.8 : 0.9
การตัดแต่งกิ่งกุหลาบ
การดูแลกุหลาบระยะแรกหลังปลูก เมื่อตากุหลาบเริ่มแตก ควรส่งเสริมให้มีการเจริญทางใบ เพื่อการสะสมอาหาร และสร้างกิ่งกระโดง เพื่อให้ได้ดอกที่มีขนาดใหญ่ และก้านยาว ซึ่งทำได้ด้วยการเด็ดยอดเป็นระยะเวลาประมาณ 2-3 เดือน โดยเด็ดส่วนเหนือใบสมบูรณ์ (5 ใบย่อย) ใบที่สองจากยอด เมื่อดอกมีขนาดเท่าเมล็ดถั่วลันเตา จากนั้นกิ่งกระโดงจะเริ่มแทงออก ซึ่งกิ่งกระโดงนี้จะเป็นโครงสร้างหลักให้ต้นกุหลาบ ที่ให้ดอกมีคุณภาพดี
การตัดแต่งกิ่ง การตัดแต่งกิ่งกุหลาบปฏิบัติได้หลายวิธี แต่ละวิธีจะใช้หลักการที่คล้ายกัน คือตัดแต่งเพื่อให้ได้กิ่งที่สมบูรณ์เพื่อการตัดดอก และเพื่อให้ได้กิ่งกระโดง (water sprout หรือ bottom break) มากขึ้น และจะรักษาใบไว้กับต้นให้มากที่สุด เพื่อให้ได้กิ่งที่สมบูรณ์ที่สุด ควรรักษาให้พุ่มกุหลาบโปร่ง และไม่สูงมากเกินไปนัก เพื่อสะดวกต่อการดูแลรักษา และแสงที่กระทบโคนต้นกุหลาบจะช่วยกระตุ้นให้เกิดกิ่งกระโดงอีกด้วย การตัดแต่งกิ่งที่นิยมในปัจจุบันได้แก่การตัดแต่งกิ่งแบบ ตัดสูงและต่ำการตัดแต่งแบบ ตัดสูงและต่ำ (สูงและต่ำจากจุดกำเนิดของกิ่งสุดท้าย) เป็นการตัดแต่งเพื่อให้มีการผลิตดอกสม่ำเสมอทั้งป
โรคกุหลาบ
กุหลาบเป็นไม้ตัดดอกชนิดหนึ่งที่มีศัตรูมากพืชหนึ่ง ดังนั้นการป้องกันและกำจัดศัตรูกุหลาบให้มีประสิทธิภาพ ผู้ปลูกควรทราบลักษณะสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และวงจรชีวิตของศัตรูนั้น ๆ รวมทั้งการป้องกันกำจัด และการใช้สารเคมีให้มีประสิทธิภาพเพื่อไม่ให้เป็นอันตรายแก่ตัวเองและผู้อื่น และควรฝึกเจ้าหน้าที่ให้หมั่นตรวจแปลง และสังเกตต้นกุหลาบทุกวันจะช่วยให้พบโรคหรือแมลงในระยะเริ่มแรก ทำให้สามารถกำจัดได้ง่าย ในการฉีดพ่นสารเคมีควรใช้สารเคมีชนิดเดียวกันติดต่อกันอย่างน้อย 2-3 ครั้งเพื่อให้สารนั้น ๆ แสดงประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ จากนั้นนั้นควรสับเปลี่ยนกลุ่มของสารเคมีเพื่อลดการดื้อยา
  • โรคราน้ำค้าง (Downey mildew) เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Peronospora spasa ลักษณะการทำลาย อาการจะแสดงบน ใบ กิ่ง คอดอก กลีบเลี้ยง และกลีบดอก การเข้าทำลายจะจำกัดที่ส่วนอ่อน หรือส่วนยอด
  • โรคราแป้ง (Powdery mildew) เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Sphaerotheca pannosa ลักษณะการทำลาย อาการเริ่มแรกผิวใบด้านบนจะมีลักษณะนูน อวบน้ำเล็กน้อย และบริเวณนั้นมักมีสีแดง และจะสังเกตเห็นเส้นใย และอัปสปอร์ สีขาวเด่นชัดบนผิวของใบอ่อน ใบจะบิดเบี้ยว และจะถูกปกคลุมด้วยเส้นใยสีขาว ใบแก่อาจไม่เสียรูปแต่จะมีราแป้งเป็นวงกลม หรือรูปทรงไม่แน่นอน
  • โรคใบจุดสีดำ (black spot: Diplocarpon rosae) เป็นโรคที่พบเสมอ ๆ ในกุหลาบที่ปลูกเป็นแปลงใหญ่ ๆ หรือปลูกประดับอาคารบ้านเรือนเพียง 2-3 ต้น โดยมากจะเกิดกับใบล่าง ๆ อาการเริ่มแรกเป็นจุดกลมสีดำขนาดเล็กด้านบนของใบ และจะขยายใหญ่ขึ้นหากอากาศมีความชื้นสูง และผิวใบเปียก หากเป็นติดต่อกันนาน จะทำให้ใบร่วงก่อนกำหนด ต้นโทรม ใบและดอกมีขนาดเล็กลง
  • โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ลักษณะอาการแตกต่างกันไปตามชนิดของไวรัส เช่น ใบด่างซีดเหลือง หรือด่างเป็นซิกแซก
  • โรคราสีเทา (botrytis: Botryotinia fuckeliana syn. Botrytis cinerea) มักพบในสภาพอุณหภูมิต่ำ ความชื้นสัมพัทธ์สูง และการระบายอากาศไม่ดีพอ ดอกตูมจะเป็นจุดสีน้ำตาล และลามขยายใหญ่และเน่าแห้ง การป้องกันกำจัด เพื่อไม่ให้ดอกกุหลาบถูกฝนควรปลูกกุหลาบในโรงเรือนพลาสติก การป้องกันควรฉีดพ่นสารเคมีด้านข้างและด้านบนดอกด้วย คอปเปอร์ ไฮดร๊อกไซด์ แมนโคเซ็บ หรือ คอปเปอร์ อ๊อกซี่คลอไรด์
  • โรคกิ่งแห้งตาย (die back) เกิดจากตัดกิ่งเหนือตามากเกินไปทำให้เชื้อราเข้าทำลายกิ่งเหนือตาจนเป็นสีดำ และอาจลามลงมาทั้งกิ่งได้ ดังนั้นจึงควรตัดกิ่งเหนือตาประมาณ 1/4 นิ้ว ทำมุม 45 องศาเฉียงลง

ดอกบานไม่รู้โรย


ดอกบานไม่รู้โรย



ชื่อวิทยาศาสตร์            Gomphrena globosa Linn.

วงศ์                           AMARANTHACEAE

ชื่อสามัญ                   Bachalor's Button,Button Agaga,Globe Amaranth,Pearly Everlasting

ชื่ออื่นๆ                 กะล่อม ตะล่อม (ภาคเหนือ) ดอกสามเดือน กุนหยี (ภาคใต้)

ลักษณะทั่วไป
บานไม่รู้โรยเป็นไม้ที่กำเนิดอยู่ในแถบร้อนของทวีปเอเชีย ทนต่อความร้อนความแห้งแล้งได้ดี เป็นไม้ล้มลุก ทรงพุ่มสูงประมาณ 100-150 ซ.ม ออกดอกเดี่ยวขนาดเล็กกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ3/4นิ้ว กลีบดอกแข็งเล็กจัดเรียงตัวรวมกันอยู่อย่างหนาแน่น มีสีชมพู ขาว ม่วงอมฟ้า และส้ม ดอกใช้ประโยชน์ได้ทั้งสดและแห้ง
    ต้น บานไม่รู้โรยเป็นไม้ล้มลุกประเภทต้นเตี้ย ใน 1 ต้น จะมีการแตกกิ่งก้านมากมาย ซึ่งมีลำต้นสูงประมาณ 1-2 ฟุต ลำต้น กิ่งก้าน และใบมีขนละเอียดอ่อนนุ่มปกคลุม ลักษณะสีของลำต้นและกิ่งก้านจะเป็นตัวบ่งบอกสีของดอกได้
    ใบ มีลักษณะยาวรี ขอบใบเรียบ ปลายใบจะมีทั้งแหลมและมน ขนาดใบกว้างประมาณ 2-3 ซม. ยาว 5-7 ซม. ใบมีสีเขียวอ่อนและมีขนละเอียดปกคลุมอยู่ ใบออกเป็นคู่ตรงกันข้าม สลับกันไปตามข้อของลำต้น (alternate)
    ดอก เป็นแบบ "Head" มีลักษณะกลม ดอกประกอบด้วยกลีบดอกแข็งสั้น จำนวนมากอัดแน่นรวมกันอยู่เป็นพุ่มกลม เส้นผ่าศูนย์กลางของดอกประมาณ 0.5-1.5 นิ้ว ดอกจริงมีขนาดเล็ก ๆ สีเหลืองหรือสีขาวแทรกอยู่ในกลีบประดับซึ่งมีอยู่หลายสี เช่น แดง ขาว ชมพู ม่วงแซมฟ้า บานเย็น

ดอกกระดังงา


ดอกกระดังงา



พระสี่กรชมพรรรพฤกษา
ประดุ่ดอกดกดาาดา
กระดังงาจำปาแกมกัน

ชื่อพฤกษา :  Cananga odorata,Hook. F.&Th.
ชื่อสามัญ   :  Ilang - ilang, Perfume Tree
ชื่อวงศ์      :  Annonaceae
ชื่ออื่น   สะบันงา สะบันงาต้น สะบานงา  (ภาคเหนือ)
           กระดังงา กระดังงอ (ภาคใต้)
           กระดังงาใบใหญ่ กระดังงาใหญ่ กระดังงาไทย กระดังงา กะดังงา (ภาคกลาง)

        กระดังงา" มีชื่อพื้นบ้านเรียกแตกต่างกันออกไปตามท้องถิ่น สายพันธุ์ มากมายได้แก่ กระดังงาจีน กระดังงาไทย, กระดังงาใหญ่,กระดังงาใบใหญ่, สะบันงา กระดังงาสงขลา
สะบันงาต้น (ภาคเหนือ) กระดังงางอ มีชื่อภาษาอังกฤษว่า เพอร์ฟูมทรี (Perfume Tree)
"กระดังงา" มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า คานันกา โอดรอเอต้า (Cananga Odroata) จัดอยู่ในวงศ์ แอนโนนาซีอี้ (Annonaceae)

        ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของ"กระดังงา" กระดังงาไทยที่ปลูกกันมากตามบ้านนั้นจริงๆ แล้วไม่ได้มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย แต่มีถิ่นกำเนิดในประเทศฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย
ดอกกระดังงาสามารถนำไปสกัดเป็นน้ำมัน และทำเป็นเครื่องอบ เครื่องหอม ได้อีกด้วย กระดังงาทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นกระดังงาจีน กระดังงาไทย กระดังงาสงขลา จัดเป็นไม้กลางแจ้งที่ต้องการ
แสงแดดจัด และจะออกดอกตลอดปี 

        ลักษณะต้นของกระดังงา กระดังงาจัดเป็นพรรณไม้ยืนต้น ที่มีความสูงต้นประมาณ ๘-๑๕ เมตร เปลือกต้นมีสีเทา มีรอยแผลใบขนาดใหญ่กระจายอยู่ทั่วกิ่ง กิ่งตั้งฉากกับลำต้นปลายย้อยลู่ลง
 กิ่งอ่อนมีขน กิ่งแก่ค่อนข้างเรียบ ลักษณะของใบ จัดเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน รูปรีหรือรูปไข่ยาว มีความกว้างใบประมาณ 4-8 ซ.ม. ยาว 9-20 ซ.ม. ปลายใบแหลม
โคนใบมนหรือเว้า และเบี้ยวเล็กน้อย ขอบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย เส้นแขนงใบ 5-9 เส้น ลักษณะของดอกกระดังงา จะออกดอกเป็นช่อ ช่อดอกสั้น ห้อยรวมกันบนกิ่ง ช่อหนึ่งๆ มี
 ดอกประมาณ 4-6 ดอก กลีบดอกเรียงสลับ 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ แต่ละกลีบมีรูปขอบขนานปลายแหลม ดอกขณะยังอ่อนอยู่จะมีสีเขียว แต่เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ดอกกระดังงา
มีกลิ่นหอมแรง ลักษณะของกลีบดอกจะแตกต่างกันตามสายพันธุ์ เช่นถ้าเป็นดอกกระดังงาจีน กลีบดอกจะค่อนข้างหนา มีสีเหลืองสดใสมาก และมีกลิ่นหอมแรง แต่ถ้าเป็นกระดังงาไทย
หรือกระดังงาสงขลา กลีบดอกจะอ่อนนุ่ม เรียวยาวและบิด และมีสีเหลืองปกติ มีกลิ่นหอมแรงน้อยกว่ากระดังงาจีน กลีบดอกมีอยู่ทั้งหมด ๖ กลีบ เกสรตัวผู้และรังไข่มีจำนวนมาก ผลของกระดังงา
มีลักษณะเป็นกลุ่ม รูปไข่ ผลอ่อนมีสีเขียว และเมื่อผลแก่จะมีสีเขียวคล้ำจนเกือบดำ เมล็ดกระดังงา มีสีน้ำตาลอ่อน รูปไข่แบน กระดังงาสามารถขยายพันธุ์ได้ โดยการเพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง
โดยทั่วไปนิยมปลูกกระดังงาเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ถ้าเป็นกระดังงาชนิดแบบเถาเลื้อย ควรมีค้าง หรือซุ้ม เพื่อให้ต้นกระดังงาเลื้อยเกาะ จึงเหมาะที่จะปลูกเพื่อให้ร่มเงาบริเวณริมรั้วบ้าน
 สำหรับขนาดหลุมปลูกของกระดังงาคือ 50 x 50 x 50 เซนติเมตร ในการให้ปุ๋ยควรใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน ในอัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก ควรแบ่งใส่ปุ๋ย
ปีละ 4-6 ครั้ง และถ้าต้องการให้การเจริญเติบโตของทรงพุ่มกระดังงาสวยงามและเป็นระเบียบ ก็ควรตัดแต่งกิ่งให้เหมาะสมด้วย

     สรรพคุณของกระดังงาและวิธีใช้ ส่วนที่ใช้ประโยชน์ของกระดังงาจะให้สรรพคุณแตกต่างกันดังนี้
     เปลือก แก้คัน
     ดอก มีสรรพคุณแก้ลมวิงเวียนศรีษะ และบำรุงเลือด จึงใช้ปรุงเป็นยาหอม หรือทำบุหงา อบร่ำ ทำน้ำหอม ใช้อบทำให้น้ำเชื่อมมีกลิ่นหอม และนำน้ำเชื่อมมาปรุงขนมหวาน
    ใบและเนื้อไม้ ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ โดยนำมาต้มกับน้ำใช้ดื่มกินเป็นยาขับปัสสาวะ
     นอกจากนี้แล้วในส่วนของเปลือกต้น ยังสามารถใช้ทำเชือกชนิดหยาบได้
          กระดังงา(yiang yiang)จัดเป็นพืชสมุนไพรไทย ใช้ดอกเป็นตัวยาชนิดหนึ่งในตัวยาที่มีกลิ่นหอมหลายชนิด ปรุงเป็นยาหอมบำรุงหัวใจ บำรุงระบบประสาท ภูมิปัญาไทย
ใช้ดอกสดแช่ในน้ำมันมะพร้าว ทำเป็นน้ำมันใส่ผมประเทศอินโดนีเซียใช้ดอกโรยบนเตียงสำหรับคู่แต่งงานใหม่ๆชาวเกาะ Molucca ใช้น้ำมันจากดอกกระดังงาบำรุงผิวและผม

กระดังงาในบ้านเราที่รู้จักมี 2 อย่างคือ กระดังงาไทย และกระดังงาสงขลา ที่นิยมนำดอกมาสกัดน้ำมันหอมระเหยคือกระดังงาสงขลาซึ่งมีกลีบดอกมากกว่าและยาวกว่ากระดังงาไทย
น้ำมันหอมระเหยจากดอกกระดังงานิยมใช้เพื่อผ่อนคลายความเครียด ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับผู้ที่นอนไม่หลับ ช่วยลดอาการท้อแท้หดหู่ ลดความดันโลหิตสูง น้ำมันนวดตัวซึ่งผสมน้ำมันหอม
ระเหยจากดอกกระดังงา ยังใช้เพื่อกระตุ้นกำหนัดด้วยสำหรับผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับ เนื่องจากความเครียด การดื่มยาหอมที่มีส่วนผสมของสมุนไพรหอมนานาชนิด จึงช่วยให้นอนหลับสนิท
ได้ดีขึ้น

       ส่วนคำว่ากระดังงาลนไฟ เป็นสำนวนไทย แปลว่า หญิงที่เคยแต่งงานหรือผ่านผู้ชายมาแล้วย่อมรู้จักชั้นเชิงทางปรนนิบัติและเอาอกเอาใจผู้ชายได้ดีกว่าผู้หญิงที่ยังไม่ได้แต่งงาน
       กระดังงาลนไฟ คือ ผู้หญิงที่ผ่านมือผู้ชายมาแล้ว แต่ยังคงมีเสน่ห์ต่อเพศตรงข้ามอยู่ เหมือนดอกกระดังงาที่เมื่อเอาไปลนไฟ แล้วจะมีกลิ่นหอมขึ้น
       กระดังงาลนไฟ คือ ผุ้หญิงที่มีอายุมากแล้ว แต่ยังซู่ซ่าอยู่
        กระดังงาลนไฟ คืด แม่หม้ายที่ยังคงเสน่ห์แรง มีบรรดาชายหนุมทั้งหลายมารุมตอม (Tags:แม่ดอกกระดังงาลนไฟ)